Powered By Blogger

วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บทบาทของคอมพิวเตอร์ในสังคมสารนิเทศ

ในสังคมสารนิเทศปัจจุบัน กล่าวได้ว่า คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนในสังคมมากยิ่งขึ้น บทบาทของคอมพิวเตอร์มีมากยิ่งขึ้นสำหรับผู้ที่ต้องการสารนิเทศสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการสารนิเทศเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับตนเองก็หลีกเลี่ยงการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ด้านอื่น ๆ ไปได้ บทบาทของคอมพิวเตอร์ที่มีต่อการใช้สารนิเทศในสังคมมีดังต่อไปนี้
ด้านการศึกษา
การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการศึกษา แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษา และใช้เป็นเครื่องมือในการสอน การใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาเกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษาซึ่งผู้บริหารการศึกษา จำเป็นต้องทราบสารนิเทศต่าง ๆ ทางด้านนักศึกษา ด้านแผนการเรียน ด้านบุคลากร ด้านการเงิน และด้านอาคารสถานที่และอุปกรณ์ (ศรีศักดิ์ จามรมาน, 2530, หน้า 96) ข้อมูลแต่ละด้านที่ได้จากคอมพิวเตอร์ ผู้บริหารการศึกษาสามารถนำมาใช้ช่วยในการตัดสินใจได้
การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นเครื่องมือในการสอน เป็นการช่วยให้ครูใช้ความรู้ความสามารถพิเศษให้เป็นประโยชน์แก่ระบบการศึกษาได้มากขึ้น การนำคอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนช่วยในการสอน และการศึกษามีประโยชน์ในเรื่องดังต่อไปนี้ (ไชยยศ เรืองสุวรรณ, 2526, หน้า 217-219) คือ

    1. เพื่อการสอบแบบตัวต่อตัว 2. เพื่อฝึกทักษะต่าง ๆ ในการเรียน 3. เพื่อการสาธิต 4. เพื่อการเล่นเกมและสถานการณ์จำลอง 5. เพื่อสอนงานด้านการเขียน 6. เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนการสอน 7. เพื่อช่วยผู้เรียนที่มีปัญหาเฉพาะตัว

ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
คอมพิวเตอร์มีบทบาทอย่างสูงทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกอย่างยิ่งในด้านการแพทย์ เริ่มตั้งแต่การรักษาพยาบาลทั่ว ๆไป โรงพยาบาลบางแห่งใช้คอมพิวเตอร์ในการทำทะเบียนคนไข้ ตลอดจนการวินิจฉัยและรักษาโรคต่างๆ จากการใช้ประโยชน์ของสารนิเทศที่ได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขอาจเกี่ยวข้องในด้านต่อไปนี้คือ ด้านการรักษาพยาบาลทั่วไป ด้านการบริหารการแพทย์ ด้านห้องทดลอง ด้านตรวจวินิจฉัยโรค และด้านการศึกษาและวิจัยทางการแพทย์ (ศรีศักดิ์ จามรมาน, 2530, หน้า 100-101) การใช้ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบันคือ ด้านวินิจฉัยโรคและด้านการศึกษาและวิจัยทางการแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์สามารถค้นคว้าข้อมูลทางการแพทย์เพิ่มเติมได้ตลอดเวลา
ด้านอุตสาหกรรม
คอมพิวเตอร์มีส่วนช่วยพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ประดิษฐ์หุ่นยนต์เพื่อใช้ในบ้านและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ทั้งนี้หุ่นยนต์จะเป็นอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบการทำงานของอวัยวะส่วนบนของมนุษย์ ประกอบด้วยระบบทางกลของหุ่นยนต์ และระบบควบคุมหุ่นยนต์ ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุม ซึ่งควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์โดยอัตโนมัติด้วยคอมพิวเตอร์ นับเป็นส่วนสำคัญที่สุดของหุ่นยนต์ ระบบควบคุมนี้ทำหน้าที่เป็นสมองเก็บข้อมูลสั่งหุ่นยนต์ให้ทำงานตรวจสอบและควบคุมรายละเอียดของการทำงานให้ถูกต้อง (หริส สูตะบุตร, 2530, หน้า 160) การประดิษฐ์หุ่นยนต์อุตสาหกรรมอำนวยประโยชน์ในการช่วยทำงาน ในอุตสาหกรรมที่สำคัญคือ งานที่ต้องเสี่ยงภัยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (Sanders, 1988, p. 7) เช่น โรงงานยาฆ่าแมลง โรงงานสารเคมี งานที่ต้องการความละเอียดสูง ถูกต้อง และรวดเร็ว เช่น โรงงานทำเฟืองนาฬิกา โรงงานทำเลนส์กล้องถ่ายรูป และงานที่ต้องทำซ้ำๆซากๆ และน่าเบื่อหน่าย เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ โรงงานประกอบวงจรเบ็ดเสร็จ หรือไอซี และโรงงานทำแบตเตอรี่ เป็นต้น การประดิษฐ์สิ่งของหรือผลิตภัณฑ์บางอย่างในโรงงานอุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทอย่างสูงต่อการควบคุมการผลิตสินค้าโดยไม่ต้องใช้แรงงานคนมาก เป็นการประหยัดแรงงาน นอกจากด้านการผลิตสินค้าแล้ว คอมพิวเตอร์ยังมีส่วนช่วยต่อการจัดส่งสินค้าตามใบสั่งสินค้า การควบคุมวัสดุคงคลัง และการคิดราคาต้นทุกสินค้า เป็นต้น (ศรีศักดิ์ จามรมาน, 2530, หน้า 93)
ด้านเกษตรกรรม
การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรกรรมได้แก่ การจัดทำระบบข้อมูลเพื่อการเกษตรซึ่งอาจมีทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ สำหรับระดับนานาชาตินั้น อาจจะเริ่มด้วยสำมะโนเกษตรนานาชาติ
ด้านการเงินการธนาคาร
การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการเงินและการธนาคาร เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในงานด้านการบัญชีและด้านการบริหาร การฝากถอนเงิน การรับจ่าย การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ การหักบัญชีอัตโนมัติ ด้านสินเชื่อ ด้านแลกเปลี่ยนเงินตรา บริการข่าวสารการธนาคาร บริการฝากถอนเงินนอกเวลาและบริการอื่น ๆ
ด้านธุรกิจการบิน
ธุรกิจสายการบินมีความจำเป็นต้องนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อให้สามารถให้บริการได้รวดเร็ว เพื่อการแข่งขันกับสายการบินอื่น ๆ และเพื่อรักษาความปลอดภัยในการบินโดยช่วยตรวจสอบสภาพเครื่องและอุปกรณ์ได้อย่างถูกต้องแน่นอนและสม่ำเสมอ ธุรกิจที่มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ด้านการบิน อาจแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ผู้โดยสาร สินค้าพัสดุภัณฑ์ และบริการอื่น ๆ ของสายการบิน (ศรีศักดิ์ จามรมาน, 2530, หน้า 88) ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือระบบบริการผู้โดยสาร อาจจะเริ่มด้วยระบบบันทึกตารางการบิน ซึ่งบันทึกและเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลเที่ยวบิน เส้นทางบิน เวลาออกและเวลาถึง จำนวนที่นั่ง
ด้านกฎหมายและการปกครอง
ทางด้านกฎหมายและการปกครอง มีการใช้คอมพิวเตอร์แก้ปัญหาด้านกฎหมาย คืองานระบบข้อมูลทางกฎหมายมีการนำสารนิเทศที่เกี่ยวข้องกับตัวบทกฎหมายทุกฉบับรัฐธรรมนูญทุกฉบับ กฎหมายอาญากฎหมายแพ่งพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวงประกาศต่างๆและอื่น ๆ เข้าคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
ด้านการทหารและตำรวจ
มีการใช้คอมพิวเตอร์ด้านการทหารและตำรวจอย่างแพร่หลายในประเทศต่าง ๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการทหารได้เจริญก้าวหน้าไปมากกว่าประเทศอื่นใดในโลก แต่ผลงานด้านนี้มักจะเป็นผลงานชนิดลับสุดยอดต่างๆ เท่าที่พอจะทราบกัน ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ในวงจรสื่อสารทหาร ใช้ในการควบคุมประสานงานด้านการทหารใช้แปลรหัสลับใน งานจารกรรมระหว่างประเทศ
ด้านอุตสาหกรรมการพิมพ์และธุรกิจอื่น ๆ
บทบาทของคอมพิวเตอร์ต่อธุรกิจอุตสาหกรรมการพิมพ์ในปัจจุบันมีมาก หน่วยงานทางการพิมพ์ ตลอดจนสำนักข่าวใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดพิมพ์ต้นฉบับ ตรวจแก้ไข จนกระทั่งจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม ทำให้การจัดทำหนังสือพิมพ์ วารสาร และหนังสือต่างๆดำเนินไปด้วยความรวดเร็ว และถึงมือผู้อ่านได้อย่างทันท่วงที
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ทางด้านวิทยาศาสตร์มีมากในสถาบันการศึกษาตลอดจนสถาบันวิจัยต่าง ๆมีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัยทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ เช่น การวิจัยในทางนิวเคลียร์ ฟิสิกส์ ซึ่งเป็นวิชาว่าด้วยส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของสสาร(ศรีศักดิ์ จามรมาน, 2530, หน้า 115) การค้นคว้าทดลองทางวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆทำให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างไม่หยุดยั้ง เช่น ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์มีการใช้คอมพิวเตอร์ให้มีส่วนร่วมต่อการออกแบบโครงสร้างทางวิศวกรรมที่ยุ่งยากสลับซับซ้อน ทำให้มีส่วนช่วยต่อการออกแบบทางด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมได้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด

ข้อระวังในการใช้คอมพิวเตอร์

การปิดและเปิดเครื่องเครื่องใหม่ควรห่างกันอย่างน้อย ๒๐ วินาที. อย่าใช้คอมในขณะมี
ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า หรือมีระบบไฟไม่ปกติ และเมื่อปิดเครื่องแล้วควรถอดปลั๊กไฟออก(สาย
โทรศัพท์ที่ต่อเข้าโมเด็มด้วย) ไม่ควรเปิด-ปิดเครื่องบ่อยๆ ถ้าจำเป็นต้องใช้บ่อยๆให้ใช้โปรแกรมรักษาหน้าจอ(screen sever) และตั้งค่าการประหยัดพลังงานแทน โดยให้คลิกขวาที่ว่างๆบน Desk top และเลือก Screen saver (การรักษาหน้าจอ) แล้วก็ตั้งเวลาและลักษณะได้ตามต้องการว่าจะให้จอภาพเกิด screen sever ภายในกี่นาที ถ้าไม่ได้ใช้งานติดต่อกัน แต่ถ้าจะตั้งให้จอภาพปิด หรือ จะปิดการทำงานของ Hard disk ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานๆ ก็ให้คลิกต่อที่ Energy แล้วก็เลือกเวลาที่จะให้จอปิด, เวลาที่จะให้เครื่องเตรียมพร้อม, และเวลาที่จะให้ให้ปิด Hard disk เมื่อเครื่องไม่ได้ถูกใช้งานนานๆ แล้วก็คลิก Apply และ OK
   อธิบาย
ถ้าใช้คอมพิวเตอร์คณะฟ้าร้องฟ้าผ่าจะทำให้เกิดอันตรายกับเครื่องคอมพิวเตอร์เเละคนได้
เเละไม่ควรเปิดปิดคอมพิวเตอร์บ่อยๆถ้าไม่จำเป็นอาจจะทำให้ข้อมูลบางอย่างเสียหายได้

ความหมายของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ
ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์"

คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป  นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก อาทิเช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้

คอมพิวเตอร์มีความสำคัญต่อโลกปัจจุบันอย่างไร

ยุคปัจจุบัน คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตคนเรามากมาย แทบจะเรียกได้ว่าเป็นปัจจัยที่ 5,6,7 เลยทีเดียว สำหรับคนที่เคยทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อยู่เป็นประจำแล้ว หากวันใดวันหนึ่งขาดมันไปเสีย เหมือนกับชีวิตขาดอะไรไปซักอย่าง คอมพิวเตอร์มีบทบาทกับเราในแทบจะทุกๆ ด้าน อย่างเช่นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันก็ได้หลักการทำงานหรือซอฟแวร์ข้างในเป็นรูปแบบสมองกลควบคุมการทำงานแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น ทีวี ตู้เย็น รถยนต์ ตู้เอทีเอ็ม โทรศัพท์มือถือ พีดีเอ ฯลฯ ซึ่งทำให้เราสะดวกสบายมากขึ้น
ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยต่างก็ให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น โรงเรียนต่างๆ ก็บรรจุหลักสูตรคอมพิวเตอร์เป็นหลักสูตรพื้นฐานสำหรับทุกชั้นเรียนไปแล้ว ยิ่งสมัยนี้เริ่มเรียนกันตั้งชั้นประถมเพื่อให้ทันกับยุคไอทีในปัจจุบัน การทำงานต่างๆ ก็ได้คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการทำงานแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการงานเอกสาร การคำนวณ รวมถึงงานต่างๆ ในทุกสาขาอาชีพ เช่นการออกแบบด้านสถาปัตยกรรม วิศวกร ระบบอุตสาหกรรมโรงงาน การแพทย์ โปรแกรมเมอร์ เว็บไซด์ ฯลฯ ต่างก็ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ในการทำงานแทบทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์มีความสำคัญกับคนทุกคนทุกและทุกสาขาอาชีพ
ในปัจจุบันมีสถาบันอบรมคอมพิวเตอร์มากมายหลายแห่ง ให้ผู้เรียนเพิ่มทักษะให้กับตนเองในการใช้งานคอมพิวเตอร์ เริ่มตั้งแต่เบื้องต้นสำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์มาก่อนเลย จนถึงหลักสูตรที่สอนการใช้งานโปรแกรมต่างๆ ตามสาขาอาชีพและความสนใจของแต่ละคน ทำให้เกิดความก้าวหน้าในวงการการเรียนการสอนของประเทศไทย พัฒนาผู้เรียนและผู้สอนให้ก้าวทันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ให้สามารถใช้ความสามารถของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บทบาทและประโยชน์ของคอมพิวเตอร์


ปัจจุบันคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตประจำวันในด้านต่าง ๆ มากมาย
คอมพิวเตอร์ได้นำไปใช้ในอุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้านเรือน เช่น เครื่องซักผ้า โทรทัศน์ โทรศัพท์ เป็นต้น
นอกจากนี้ ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดก็คือ การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่างๆ เช่น พิมพ์จดหมาย รายงาน
เอกสารต่างๆ โดยสรุปคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทกับวิถีชิวิตในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.
ข้อมูลข่าวสารความรู้ประกอบการเรียนการสอนจากอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ครู อาจารย์ยังใช้คอมพิวเตอร์
เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอน เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ค้นคว้าเพิ่มเติม หรือเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักศึกษา ใช้คอมพิวเตอร์สอนภาษา เป็นต้น
นอกจากนี้เนื้อหาด้านคอมพิวเตอร์ ยังเป็นเนื้อหาหนึ่งที่ใช้ในการเรียนการสอนในหลักสูตรอีกด้วย
สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาก็ใช้คอมพิวเตอร์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้ประกอบ
การตัดสินใจในการบริหารจัดการ เช่น ใช้คอมพิวเตอร์จัดทำทะเบียนนักศึกษา ใช้งานด้านบุคลากร
ด้านการเงิน เป็นต้น
การศึกษา มีการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ เช่น การค้นหา(CAI) เพื่อให้นักศึกษา
2.
ในการทำบัญชี งานประมวลคำและติดต่อกับหน่วยงานภายนอกผ่านระบบโทรคมนาคม นอกจากนี้
งานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ก็ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการควบคุมการผลิต และการประกอบชิ้นส่วน
ของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ ซึ่งทำให้การผลิตมีคุณภาพดีขึ้น หรืองานธนาคาร
ที่ให้บริการถอนเงินผ่านตู้ฝากถอนเงินอัตโนมัติ
และการโอนเงินระหว่างบัญชี เชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่าย
งานธุรกิจ เช่น บริษัท ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ตลอดจนโรงงานต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์( ATM ) และใช้คอมพิวเตอร์ คิดดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงิน
3.
ของการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี วิถีการโคจรของโลก การส่งจรวด
ไปสู่อวกาศ หรืองานทะเบียน การเงิน สถิติ และเป็นอุปกรณ์สำหรับการตรวจรักษาโรคได้ ซึ่งจะให้ผล
ที่แม่นยำกว่าการตรวจด้วยวิธีเคมีแบบเดิม และให้การรักษาได้รวดเร็วขึ้น
งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข สามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในส่วน
4.
ออกแบบ หรือจำลองสภาวการณ์ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
โดยคอมพิวเตอร์จะคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง รวมทั้งการใช้ควบคุม
และติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ เช่น คนงาน เครื่องมือ ผลการทำงาน
งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม สถาปนิกและวิศวกรสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการ
5.
ทั้ง
นี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้ระบบ
ประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดระบบเครือข่าย
อินเตอร์เน็ต เพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่างๆ กรมสรรพากร ใช้ในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี
เป็นต้น
งานราชการ เป็นหน่วยงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยมีการใช้หลายรูปแบบ

บทบาทและประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คำถาม(งานที่2)

1.หน่วยใดมีลักษณะการทำงานคล้ายกับสมองของมนุษย์
ก.  หน่วยประมวลผล
ข.  หน่วยรับข้อมูล
ค.  หน่วยความจำ
ง.  หน่วยแสดงผล  



2. อุปกรณ์ในข้อใดถือเป็นอุปกรณ์ต่อพ่วง
  

ก.  เมาส์
ข.  คีย์บอร์ด
ค.  เครื่องพิมพ์
ง.  สายไฟ


3.ข้อใด  เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลเบื้องต้น
ก.  จอภาพ
ข.  คีย์บอร์ด
ค.  เครื่องพิมพ์
ง.  เคส

งานที่1

การทำงานที่สำคัญสำหรับการใช้คอมพิวเตอร์นั้นมีประโยชน์มากมายสำหรับคนเราสามารถหาสิ่งที่เราทำไม่ได้ให้หาง่ายยิ่งขึ้น

ความหมายและความสำคัญของคอมพิวเตอร์

ความหมาย บทบาทและความสำคัญของคอมพิวเตอร์ 
คอมพิวเตอร์คืออะไร
              ปัจจุบันจะพบว่าคอมพิวเตอร์มีหลากหลายลักษณะ หลากหลายรูปแบบ ทั้งคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์แบบกระเป๋าหิ้ว คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์เมนเฟรม หรือซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็มีความหมายที่ชัดเจนในตัวของมันเอง คือ เครื่องคำนวณ ในรูปของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถรับข้อมูล และคำสั่ง ผ่านอุปกรณ์รับข้อมูล แล้วนำข้อมูลและคำสั่งนั้น ไปประมวลผลด้วยหน่วยประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ และแสดงผลผ่านอุปกรณ์แสดงผล ตลอดจนสามารถบันทึกรายการต่างๆ ไว้เพื่อใช้งานได้ด้วยอุปกรณ์บันทึกข้อมูลสำรอง
              คอมพิวเตอร์จึงสามารถมีรูปร่างอย่างไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปร่างอย่างที่เราคุ้นเคย หรือพบเห็น ตัวอย่างเช่น เครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ หรือ ATM ก็ถือว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง
        
 เหตุผลที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้งาน
             1. สามารถบันทึกข้อมูลต่างๆ ได้รวดเร็ว เช่น การใช้เครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar-code) อ่านเวลาเข้า-ออก ของพนักงาน และคิดราคาสินค้า ในห้างสรรพสินค้า
             2. สามารถเก็บข้อมูลจำนวนมากๆ ไว้ในฐานข้อมูล (Database) เพื่อใช้งานได้ทันที
             3. สามารถนำข้อมูลที่เก็บไว้มาคำนวณทางสถิติ แยกประเภท จัดกลุ่ม ทำรายงานลักษณะต่างๆ ได้ โดยระบบประมวลผลข้อมูล (Data Processing)
             4. สามารถส่งข้อมูลจากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว โดยอาศัยเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล (Data Communication)
             5. สามารถจัดทำเอกสารต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยระบบประมวลผลคำ (Word Processing) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation)
             6. การนำมาใช้งานทั้งด้านการศึกษา การวิจัย
             7. การใช้งานธุรกิจ งานการเงิน ธนาคาร และงานของภาครัฐต่างๆ เช่น การนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับงานบัญชี งานบริหารสำนักงาน งานเอกสาร งานการเงิน การจองตั๋วเครื่องบิน รถไฟ
             8. การควบคุมระบบอัตโนมัติต่างๆ เช่น ระบบจราจร, ระบบเปิด/ปิดน้ำของเขื่อน
             9. การใช้เพื่องานวิเคราะห์ต่างๆ เช่น การวิเคราะห์สภาวะดินฟ้าอากาศ สภาพของดิน น้ำ เพื่อการเกษตร
           10. การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อจำลองรูปแบบ เช่น การจำลองในงานวิทยาศาสตร์ จำลองโมเลกุล จำลองรูปแบบการฝึกขับเครื่องบิน
           11. การใช้คอมพิวเตอร์นันทนาการ เช่นการเล่นเกม การดูหนัง ฟังเพลง
           12. การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับเทคโนโลยีล้ำสมัยอี่นๆ เทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล เกิดเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

 หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
              การทำงานของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยสำคัญ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล1  จะรับข้อมูลโดยผู้ใชัเป็นผู้ป้อนคำสั่ง แล้วส่งไปยัง หน่วยประมวลผล2  ซึ่งทำหน้าที่ในการคิดคำนวณ หรือประมวลผลข้อมูล โดยทำตาม โปรแกรมที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก3 หน่วยความจำหลักซึ่งเป็นหน่วยความจำที่หน่วยประมวลผลสามารถอ่านเขียนได้รวดเร็วมาก ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลักนี้เพื่อให้หน่วยประมวลผลนำมาตีความและกระทำตามได้อย่างรวดเร็ว ส่วนหน่วยความจำสำรองมีไว้สำหรับเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมที่มีจำนวนมาก และหากจะใช้งานก็มีการถ่ายจากหน่วยความจำสำรองมายังหน่วยความ แล้วนำข้อมูลที่เก็บไว้มาประมวลผล หน่วยส่งออกหน่วยแสดงผล4 เป็นหน่วยที่นำข้อมูลที่ได้รับการประมวลมาแสดงผล
ลักษณะและประเภทของงานคอมพิวเตอร์
              ประมาณปี พ.ศ. 2500 คอมพิวเตอร์มีอยู่ในโลกนี้ไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องในระบบเมนเฟรม ซึ่งมีขนาดใหญ่และราคาแพง ใช้กับงานทางด้านวิทยาศาสตร์เท่านั้น ซึ่งจะไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันมากนัก แต่ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้มีขนาดเล็กลง และ ราคาก็ไม่แพงนัก คนทั่วไปสามารถซื้อหามาใช้ได้เหมือนกับเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยทั่วไป งานที่คอมพิวเตอร์ทำตัวอย่างเช่น
             1. งานที่ต้องจัดเก็บข้อมูลเป็นจำนวนมาก เช่น เก็บข้อมูลงานทะเบียนราษฏฐ์ เป็นต้น
             2. งานที่ต้องอาศัยการประมวลผลที่รวดเร็ว มีความแม่นยำและถูกต้องที่สุด เช่นงานด้านวิทยาศาสตร์
             3. งานที่ไม่ต้องการหยุดพัก คือทำงานได้ตลอดเวลา ในขณะที่ยังต้องมีไฟฟ้าอยู่
             4. งานที่คนไม่สามารถเข้าไปทำได้ เช่นในสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย เช่น ที่มีก๊าซพิษ กัมมันตภาพรังสี หรือในงานที่มีความเสี่ยงสูงในโรงงานอุตสาหกรรม

งานคอมพิวเตอร์กับงานการศึกษา
               ปัจจุบันตามสถานศึกษาต่างๆ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมากมาย รวมทั้งใช้คอมพิวเตอร์ในงานบริหารของโรงเรียน เช่น การจัดทำประวัตินักเรียน ประวัติครูอาจารย์ การคัดคะแนนสอบ การจัดทำตารางสอน ใช้คอมพิวเตอร์ ในงานห้องสมุด การจัดทำตารางสอ น เป็นต้น  
               ตัวอย่าง ในการประยุกต์ด้านการศึกษา เช่น โปรแกรมฝ่ายทะเบียนวัดผ โปรแกรมตรวจข้อสอบ เป็นต้น